วันพฤหัสบดี


ลูกใต้ใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Phyllanthus amarus Schum & Thonn.

วงศ์ : Euphorbiaceae





ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของลูกใต้ใบ
ลูกใต้ใบ เป็นไม้ล้มลุก สูง 10 – 60 เซนติเมตร ทุกส่วนมีรสขม
ใบ มีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อย 23 – 25 ใบ ขอบขนานแกมไข่กลับ ปลายใบมนกว้างโคนใบมนแคบ ขนาดประมาณ 0.40 X 1.00 เซนติเมตร ก้านใบสั้นมากและมีหูใบสีขาวนวลรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติด 2 อัน
ลักษณะดอก เป็น ดอกแยกเพศ เพศเมียมักอยู่ส่วนโคน เพศผู้มักอยู่ส่วนปลายก้านใบ ดอกขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.08 เซนติเมตร
ผล มีลักษณะทรงกลมผิวเรียบสีเขียวอ่อนนวล ขนาดประมาณ 0.15 เซนติเมตร เกาะติดอยู่ที่ใต้โคนใบย่อย เมื่อแก่จะแตกเป็น 6 พู แต่ละพูจะมี 1 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลรูปเสี้ยว 1/6 ของทรงกลม ขนาดประมาณ 0.10 เซนติเมตร
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้นสด
ลูกใต้ใบ...สมุนไพร แก้ไข้ ของผองชน
ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่คนส่วนใหญ่รู้จักดี เพราะขึ้นในทุกพื้นที่ทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งในสายตาของหมอยาแล้วลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่พื้นๆ มาก เวลาเดินเก็บยาด้วยกันแล้ว พ่อหมอมักจะเดินผ่านเลยเพราะคิดว่าเรารู้แล้วเสมอ แต่เมื่อหยิบขึ้นมาถาม หมอยาทุกภาคทุกถิ่นจะใช้ลูกใต้ใบเหมือนๆ กัน คือ ส่วนใหญ่ใช้เป็นยาแก้นิ่ว แก้โรคตับ แก้ปวดเมื่อย แก้เบาหวาน ใช้ต้มกิน แก้ไข้ ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่แพร่กระจายอยู่ในหลายๆ ประเทศ ทั้งในบราซิล เปรู หมู่เกาะคาริบเบียน สหรัฐอเมริกา อินเดีย ไทย ลาว พม่า เขมร แต่ละพื้นถิ่นที่มีลูกใต้ใบจะใช้ประโยชน์ทางยาจากสมุนไพรชนิดนี้เหมือนๆ กัน

ลูกใต้ใบสมุนไพรแก้ไข้ แก้อักเสบ แก้ปวดเมื่อย
ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่พระธุดงค์ตากแห้งพกติดกาย ชงเป็นชายามเดินธุดงค์เพื่อใช้แก้ไข้ที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ อาทิ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้จากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไข้จากอ่อนเพลีย ไข้จับสั่น รวมทั้งแก้ท้องเสียได้ดีนัก ชาวบ้านในหลายพื้นที่นิยมตากลูกใต้ใบให้แห้งเก็บใส่โหลไว้ชงเป็นชากินเพื่อแก้ไข้ แก้ปวดข้อ แก้อักเสบ แก้ปวด มีรายงานการวิจัยพบว่าลูกใต้ใบมีฤทธิ์ในการแก้ไข้ แก้อักเสบได้ สอดคล้องกับการใช้ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน

ลูกใต้ใบสมุนไพรบำรุงตับ ลดอาการตับอักเสบ  สร้างความสมดุลของไขมันในตับ
หมอยาคนจีนเชื่อว่าถ้ากินลูกใต้ใบติดต่อกันหนึ่งสัปดาห์จะช่วยกำจัดพิษออกจากตับ มีผลทำให้สายตาดี บำรุงตับ รักษาอาการดีซ่าน ซึ่งก็คล้ายๆ กับหมอยาพื้นบ้านไทยและหมออายุรเวทอินเดียที่มีความเชื่อว่า ลูกใต้ใบเกิดมาเพื่อตับ ใช้ต้มกินเป็นยาแก้ดีซ่าน แก้ตับอักเสบตัวเหลือง ตาเหลือง ซึ่งมีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่า สารสกัดจากลูกใต้ใบมีฤทธิ์ป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษ เช่น เหล้า รักษาอาการอักเสบของตับทั้งประเภทเฉียบพลันและเรื้อรัง ลูกใต้ใบยังช่วยปรับไขมันในตับให้เป็นปกติ 

ลูกใต้ใบยังเหมาะที่จะใช้ทำเป็นชาสมุนไพรให้กับคนไข้ที่เป็นมะเร็งตับ เพราะมีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่า น้ำต้มของลูกใต้ใบทำให้หนูที่เป็นมะเร็งตับมีอายุยืนยาวขึ้น ด้วยกลไกที่ทำให้เซลล์มะเร็งเติบโตช้าลงแต่ไม่ได้ฆ่าเซลล์มะเร็งโดยตรง

ลูกใต้ใบสมุนไพรของผู้ป่วยเบาหวาน
 ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรยอดนิยมของผู้ป่วยเบาหวาน หมอยาและชาวบ้านในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย เชื่อว่าลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรช่วยคุมระดับน้ำตาลในคนเป็นโรคเบาหวานได้ ซึ่งมีการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาพบว่าสารสกัดของลูกใต้ใบมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

ข้อแนะนำ...สำหรับการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน หากจะใช้สมุนไพรต้องรับประทานยาแผนปัจจุบันตามคำสั่งแพทย์และมีการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีรายงานที่แสดงให้เห็นว่าลูกใต้ใบช่วยเสริมฤทธิ์ของยาเบาหวาน

ลูกใต้ใบสมุนไพร ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว
หมอยาทั่วทุกภาคจะใช้ลูกใต้ใบในการเป็นยาขับนิ่วมีรายงานการศึกษาสมัยใหม่ว่าลูกใต้ใบมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ ซึ่งมีประโยชน์ในการขับนิ่ว และลดความดัน ฤทธิ์ในการขับนิ่วนั้น มิใช่หมอยาพื้นบ้านไทยเท่านั้นที่รู้จักใช้ ในสเปน เรียกลูกใต้ใบว่า Chanca piedra มีความหมายว่า นักทุบหิน หรือทำให้หินเป็นชิ้นเล็กๆ (Stone breaker or Shatter stone) ในบราซิลเรียกลูกใต้ใบว่า Quebra-pedra หรือ Arranca-pedras ซึ่งมีความหมายในทำนองเดียวกัน หมอยาพื้นบ้านในแถบลุ่มน้ำอเมซอนนิยมใช้ลูกใต้ใบ ต้มกินในการรักษานิ่วทั้งนิ่วในถุงน้ำดีและนิ่วในไต มีรายงานการศึกษาพบว่าลูกใต้ใบมีฤทธิ์ทั้งป้องกันและกำจัดนิ่ว
ลูกใต้ใบ เป็นสมุนไพรที่จัดว่ามีการใช้กับระบบทางเดินปัสสาวะมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยมีการนำไปใช้รักษาอาการมีไข่ขาวในปัสสาวะ อาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ใช้ในการขับปัสสาวะ ลดอาการบวม และขับกรดยูริคออกทางปัสสาวะ ซึ่งช่วยในคนเป็นโรคเก๊าท์

ลูกใต้ใบ เป็นสมุนไพรที่น่าเสียดายว่าหาง่าย ใช้ง่าย เพียงแค่ต้มกินก็ใช้ได้แล้ว ใช้กันมานานทั่วทั้งโลกจนกลายเป็นธุรกิจการลงทุน ในด้านการวิจัยนั้นมักจะลงทุนเพื่อประโยชน์ทางการค้า เป็นความลับทางธุรกิจมากกว่าจะลงทุนวิจัยเพื่อประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง และในความนึกคิดของคนทั่วไป สมุนไพรมักจะเป็นอะไรที่ต้องออกจากห้องทดลอง อยู่ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปสวยงาม ทั้งที่จริงๆ แล้วสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ทำเองได้ พึ่งตนเองได้

ข้อควรระวัง : ห้ามใช้ในคนท้อง เพราะลูกใต้ใบ มีฤทธิ์เป็นยาขับประจำเดือน

ที่มา : หน่วยปฏิบัติการวิจัยเคมีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 




 



ด้านงานวิจัย  รายงานการวิจัยฤทธิ์ของสมุนไพรใต้ใบทั้งหลาย Phyllanthus amarus พอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้


1. ฤทธิ์ต้านไวรัสตับอักเสบ มีรายงานการศึกษาวิจัยฤทธิ์ต้านไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus, HBV) ของสารสกัดของ P. amarus ในห้องปฏิบัติการ และมีการศึกษาวิจัยต่อเนื่องถึงกลไกการออกฤทธิ์ ซึ่งพบว่ามีได้หลายกลไกการออกฤทธิ์ เช่น การยับยั้ง HBV DNA polymerase, ยับยั้ง HBV mRNA transcription & replication เป็นต้น และมีรายงานการวิจัยในคนหลายรายงาน ซึ่ง The Cochrane Hepato-Biliary Group ได้สรุปผลงานวิจัยที่เป็น randomized controlled trial (RCT) ของพืชสกุล Phyllanthus ในโรคตับอักเสบเรื้อรังไว้ มีเพียง 5 รายงานที่มีคุณภาพดี สรุปได้ว่าPhyllanthus sp. ให้ผลบวกต่อการ clearance ของ serum HbsAg เมื่อเทียบกับ placebo หรือเมื่อไม่ให้การรักษาไม่มีความแตกต่างในการ clearance ของ serum HBsAg, HBeAg, HBV DNA ระหว่าง Phyllanthus sp. กับ interferon (IFN) Phyllanthus sp. ให้ผลดีกว่า non-specific treatment หรือยาจากสมุนไพรอื่นๆ ในการ clearance ของ serum HBsAg, HBeAg, HBV DNA และการกลับมาเป็นปกติของค่า liver enzymesการใช้ Phyllanthus sp. ร่วมกับ IFN จะให้ผลดีกว่า IFN อย่างเดียวในการ clearance ของ serum HbeAg และ HBV DNAไม่พบ serious adverse event สรุปได้ว่า Phyllanthus sp. อาจมี positive effect ด้าน antiviral activity และต่อ liver biochemistryในโรคตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่มียังไม่หนักแน่นพอเนื่องจากคุณภาพของวิธีวิจัยและความแตกต่างของสมุนไพรที่นำมาวิจัย จึงควรมีงานวิจัยในขนาดใหญ่ต่อไปในอนาคต


 2 ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อเอชไอวี สารสกัดด้วยน้ำและสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ของ P. amarus มีฤทธิ์แรงในการยับยั้ง HIV-1 replication โดยสารออกฤทธิ์อยู่ในกลุ่ม gallotannins โดยสาร geraniin และ corilagin มีฤทธิ์แรงที่สุด นอกจากนี้ สารสกัดทั้งสองและสาร geraniin ยังสามารถยับยั้ง virus uptake ได้ 70-75% รวมทั้งยับยั้ง HIV-1 reverse transcriptase ด้วย


3. ฤทธิ์ต้านไวรัสหัวเหลือง (Yellow head virus, YHV) ในกุ้งกุลาดำ นักวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดสงขลา ทำการวิจัยฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรลูกใต้ใบชนิด P. urinaria ที่ผสมในอาหารในการป้องกันการติดเชื้อ YHV ในกุ้งกุลาดำ โดยเอากุ้งมาฉีดเชื้อ YHV พบว่ากุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมสารสกัดสมุนไพรมีอัตราการรอดตายสูง และสามารถฟื้นเป็นปกติได้ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่พบอัตราการรอดเลย


4. ฤทธิ์ต้านอักเสบ สารสกัดของ P. amarus มีฤทธิ์ต้านอักเสบโดยการยับยั้ง endotoxin-induced nitric oxide synthase (iNOS), cyclooxygenase (COX-2) และ tumor necrosis factor-alpha (TNF-) และสารสกัดด้วยน้ำและสารสกัดด้วยเมธานอลมีฤทธิ์ต้านอักเสบโดยลดการบวมของอุ้งเท้าหนูได้


5. ฤทธิ์ antioxidant และต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดด้วยเมธานอลของ P. amarus มีฤทธิ์ antioxidant สามารถยับยั้ง lipid peroxidation และต้านอนุมูลอิสระได้เมื่อศึกษาในหลอดทดลอง


6. ฤทธิ์ลดการเจ็บปวดและอาการบวม สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ผสมกับน้ำ (hydroalcoholic extract) มีฤทธิ์ต้านอาการเจ็บปวดจากการได้รับสารต่างๆ เช่น acetic acid, formalin หรือ capsiacin และสารสกัดด้วยเฮกเซนสามารถต้านอาการบวมและอาการเจ็บปวดในหนูที่ได้รับ Complete Freund’s adjuvant ฉีดเข้าอุ้งเท้าได้ 


7. ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลของกระเพาะอาหาร สารสกัดด้วยเมธานอลของ P. amarus สามารถลดอัตราตาย พื้นที่ที่เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และอาการเลือดออก เนื่องจากได้รับเอธานอลได้


8. ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสีย สารสกัดด้วยน้ำของ P. amarus สามารถลดการเคลื่อนตัวของอาหารในลำไส้หนูถีบจักร ชะลอการเกิดท้องเสีย และจำนวนครั้งที่ถ่ายหลังจากได้รับน้ำมันละหุ่ง


9. ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด สารสกัดด้วยเมธานอลของ P. amarus มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในหนูที่ถูกทำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีดสาร alloxan
10. ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ สารสกัดด้วยเมธานอลของ P. amarus มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสาร 2-acetaminofluorene (2-AFF),aflatoxin B1,sodium azide,N-methyl-N-nitro-N-nitrosoguanidineและ4-nitro-O-phenylenediamine เมื่อศึกษาด้วยAmes test


11. ฤทธิ์ต้านเนื้องอกและต้านมะเร็ง สารสกัดด้วยน้ำของ P. amarus สามารถต้านการเกิดมะเร็ง sarcoma ในหนูที่ได้รับสารก่อมะเร็ง 20-methylcholanthrene และยืดอายุของหนูที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์มะเร็ง Dalton’s lymphoma ascites และ Ehrlich Ascites carcinoma และทำให้ก้อนเนื้องอกมีขนาดเล็กลง


12. ฤทธิ์คุมกำเนิด เมื่อป้อนสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ของ P. amarus ทั้งต้นแก่หนูถีบจักรเพศเมีย ในขนาด 100 มก./กก. 30 วัน พบว่ามีผลต่อระดับเอนไซม์ 3 beta & 17 beta hydroxy steroid dehydrogenase ทำให้หนูไม่ตั้งท้องเมื่อเลี้ยงรวมกับหนูเพศผู้
ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์


การทดลองใช้ยาสมุนไพรรักษาไวรัสตับอักเสบ
พืชสมุนไพรหลายชนิดมีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ดีเอ็นเอของไวรัสชนิดนี้ และสารสกัดของลูกใต้ใบหรือมะขามป้อมดิน แพทย์ชาวอเมริกันและอินเดียได้ร่วมกันทำการทดลองพบว่า ยาสมุนไพรที่ใช้สืบต่อกันมามากกว่า 2,000 ปี สามารถรักษาโรคไวรัสตับอักเสบชนิด บี ได้ผลดี



การทดลองนี้เป็นความร่วมมือระหว่างคณะแพทย์จากสถาบันวิจัยมะเร็งแห่งฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา และคณะแพทย์อินเดียแห่งเมืองมีคราสได้ศึกษาวิจัยพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ที่มีการใช้รักษาอาการดีซ่านมาตั้งแต่โบราณ โดยได้นำพืชสมุนไพรกว่า 1,000 ชนิดที่ใช้กันทั่วโลกมาทดสอบความสามารถในการยับยั้งปฏิกิริยาของเอนไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์สารดีเอ็นเอ ซึ่งจำเป็นในการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ในร่างกายของผู้ป่วย
จากการทดลองพบว่า พืชสมุนไพรหลายชนิดมีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ดีเอ็นเอของไวรัสชนิดนี้ และสารสกัดของมะขามป้อมดิน (บางแห่งเรียก ลูกใต้ใบ หญ้าใต้ใบขาว) มีฤทธิ์สูงสุด การทดลองทางคลินิกในมีคราสทำโดยให้แคปซูลยาสมุนไพร 200 มิลลิกรัมน้ำหนักแห้งแก่ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี 37 คน วันละครั้ง 30 วันติดต่อกันพร้อมกับให้ยาหลอกซึ่งภายในแคปซูลบรรจุน้ำตาลแล็กโทสแทน 23 คน หลังจากนั้นเจาะเลือดผู้ป่วยมาตรวจหาเชื้อไวรัส พบว่าผู้ป่วย 22 คน (ร้อยละ 59) ไม่มีเชื้อไวรัสในกระแสเลือด ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกเพียง 1 คนที่ไม่พบเชื้อไวรัสในกระแสเลือด และภายหลังการติดตามผลการรักษาต่อไปอีก 9 เดือน พบว่า ผู้ป่วยทั้ง 22 คน ยังคงตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในกระแสเลือดต่อไป
แพทย์พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแต่ไม่ได้ผลยังพบเชื้อไวรัสอยู่นั้น เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนั้นเพิ่งได้รับเชื้อไวรัสใหม่ๆ จึงยังคงมีเชื้อไวรัสจำนวนมากมายในระยะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว จึงควรจะให้ยาในขนาดที่สูงขึ้นอีก การใช้มะขามป้อมดินในการรักษาอาการดีซ่านนี้ ได้กล่าวไว้ครั้งแรกในตำราอายุรเวทอินเดียมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว และสารสกัดจากพืชนี้ได้มีการใช้รักษาอาการดีซ่านในประเทศจีน ฟิลิปปินส์ คิวบา ไนจีเรีย กวม แอฟริกาตะวันออกและตะวันตก อเมริกาใต้และอเมริกากลาง และพืชในตระกูลนี้กว่า 900 ชนิด พบขึ้นอยู่ทั่วไปในเขตร้อน
(จาก Herbal drug succeed in hepatitis trials. Far East Health 2531;11:8)
ร.ศ.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ 

วันศุกร์

พลูคาว

พลูคาว 
ชื่อวิทยาศาสตร์   Houttuynia cordata Thunb. 
วงศ์   Saururaceae 





จากข้อสังเกตว่า จำนวนประชากรในภาคเหนือเป็น โรคมะเร็งค่อนข้างน้อย เนื่องจากบริโภคพลูคาวเป็นประจำ และหมอแผนโบราณเคยใช้พลูคาวมารักษาผู้ป่วยริดสีดวงทวาร ทำให้หายเจ็บปวดโดยไม่ต้องทำการผ่าตัด ทำให้คณะนักวิจัยซึ่ง ประกอบด้วย รศ.มณเฑียร เปสี, ศ.น.พ.พงษ์ศิริ ปรารถนาดี, รศ.น.พ.สุขชาติ เกิดผล, ผศ.ดร.วิจิตร เกิดผล และผศ. ดุษฎี มุสิกโปดก คณะแพทย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยขอนแก่น สนใจที่จะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้พลูคาวรักษาผู้ป่วยมะเร็ง   ขณะเดียวกันการวิจัยทำให้ได้ทราบข้อเท็จจริงว่า สีแดงที่อยู่ใต้ใบพลูคาวเป็นตัวชี้วัดว่ามีเภสัชสาร ซึ่งเป็นสารเฮลตีแบคทีเรีย มีจุลินทรีย์และแลคโตบาซิลลัสสายพันธุ์หนึ่ง ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายของมนุษย์ให้ทำงานได้ดีขึ้น ทั้งยังสามารถไปยับยั้งการเจริญเติบโตและต้านทานเนื้องอก (Anti-tumor) และช่วยต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้ค่อนข้างดี


พลูคาว หรือที่เรียกกันว่า ผักคาวตอง หรือก้านตอง เป็นไม้เลื้อยล้มลุก เป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู แต่อายุอยู่ได้หลายปี ขึ้นอยู่ตามแถวภาคเหนือ ลำต้นจะเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน รากแตกออกตามข้อ ทั้งต้นมีกลิ่นคาวอย่างรุนแรง คล้ายปลาช่อน การขยายพันธุ์โดยปักชำ ชอบขึ้นตามริมห้วย หรือที่ชื้นแฉะริมน้ำมี
ร่มเงาเล็กน้อยในสภาพอากาศที่เย็น 

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปทรงคล้ายรูปหัวใจกว้าง โคนใบเว้า ปลายใบแหลม ขอบใบ มีก้านใบยาว ใต้ใบจะมีสีแดงอ่อนถึงสีแดงเข้ม โคนก้านแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกบานมีใบประดับที่โคนดอกสีขาว 4 กลีบ แต่ละช่อมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก อัดกันแน่นเป็นแท่งทรงกระบอกสีจะออกเหลืองอ่อน ผล เป็นผลแห้งแตกได้


สรรพคุณ

- รักษาโรคมะเร็ง โดยเฉพาะเกี่ยวกับมะเร็งปอด มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งปากมดลูก
- ริดสีดวงทวาร โดยไม่ต้องผ่าตัด
- โรคกามโรค
- โรคผิวหนัง
- ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- เพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาว รักษาอาการอักเสบต่าง ๆ เช่น ฝีอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ตาอักเสบ ตับอักเสบ ไตอักเสบ
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อรา หูชั้นกลางอักเสบ






สรรพคุณในตำรับยาไทย
        ต้น: ใช้รักษาโรคติดเชื้อและทางเดินหายใจ ฝีหนองในปอด ปอดบวม ปอดอักเสบ ไข้มาลาเรีย แก้บิด ขับปัสสาวะ ลดอาการบวมน้ำ นิ่ว ขับระดูขาว ริดสีดวงทวาร แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ฝีฝักบัว แผลเปื่อย ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แก้ไอ หลอดลมอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ
        ราก: ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใบใช้ แก้โรคบิด โรคผิวหนัง โรคหัด ริดสีดวงทวาร หนองใน
        ใบ: ใช้รักษาโรคบิด หัด โรคผิวหนัง ริดสีดวงทวาร หนองใน ใช้ปรุงเป็นยาแก้กามโรค ทำให้แผลแห้งเร็ว แก้โรคข้อและแก้โรคผิวหนังทุกชนิดทั้งต้นมีรสเย็นและฉุน ใช้เป็นยาแก้โรคบิด โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ไอ หลอดลมอักเสบ ฝีบวมอักเสบ ริดสีดวงทวาร หูชั้นกลางอักเสบ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
        1. ฤทธิ์ระงับปวด เร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ ห้ามเลือด รักษาปริมาณของเหลวในร่างกาย
        2. ฤทธิ์ขับปัสสาวะ พบสารฟลาโวนอยด์ ที่แยกได้จากใบพลูคาวเป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์
        3. ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ น้ำมันหอมระเหยจากการกลั่นส่วนเหนือดินของพลูคาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอย่างแรงต่อเชื้อ Bacillus cereus และ B. Subtilis เชื้ออหิวาต์ Vibrio cholerae 0-1 และ V. Parahaemolyticus
        4. ฤทธิ์ต้านไวรัส น้ำมันหอมระเหยจากพลูคาว ซึ่งประกอบด้วย n–decyl aldehyde, n–dodecyl aldehyde และ methyl–n–nonyl ketone สามารถยับยั้งการเจริญของไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดใหญ่ในหลอดทดลองได้ นอกจากนี้ยังมีผลต่อไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม 3 ชนิด ได้แก่ herpes simplex virus type–1 (HSV–1) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ และไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ (HIV–1) และไวรัสที่ปราศจากเปลือกหุ้ม 2 ชนิด คือ โปลิโอไวรัส และ คอกซากีไวรัส




พลูคาว
พลูคาว กินแล้วตาที่พร่ามัวของคนแก่จะดีขึ้น
ไม่ว่าใครจะพูดถึงสรรพคุณของคาวตองว่ามีมากมายอย่างไร แต่ถ้าไปถามพ่อหมอฉล่าซู่ หมอยาไทยใหญ่แห่งตำบลเปียงหลวงแล้ว ท่านก็จะยืนยันว่า คาวตองแก้คนแก่ตาพร่า ฝ้าฟาง พร่ามัว โดยนำผักคาวตองมารับประทานเป็นประจำ เป็นอาหารประจำวันทุกวัน พ่อหมอฉล่าซู่บอกว่าถ้ารับประทานหมด ๓ จ้อย (๑ จ้อยประมาณ ๑.๖ กิโลกรัม) จะทำให้คนแก่ที่ตามัวมองเห็นได้ชัดถึงขั้นเอาด้ายใส่ในรูเข็มได้สบาย ท่านบอกเคยเห็นมาแล้ว

พลูคาว ผักเป็นยา… ยาเบาหวาน ยาความดัน ยาริดสีดวง ยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร
หมอยาทั่วไปทั้งหมอยาอิสาน ภาคเหนือหรือไทยใหญ่ มีความเชื่อว่าการกินคาวตองสดๆ กับน้ำพริก ลู่ ลาบ หรือใช้รากต้มกับปลาไหล รากตำเป็นน้ำพริกกินจะเป็นยารักษาได้หลายโรค เช่น เบาหวาน ขับปัสสาวะ ช่วยรักษาความดันโลหิตสูง ริดสีดวงทวาร แผลในกระเพาะอาหาร ส่วนหมอยากะเหรี่ยงทุ่งใหญ่นเรศวรตะวันออก นอกจากจะเชื่อว่าการกินคาวตองเป็นผักจะทำให้แข็งแรงแล้ว ยังช่วยบำรุงเลือดให้สตรีที่ตกเลือดหลังคลอด รับประทานแล้วจะเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลดังเดิม

พลูคาวรักษาโรคผิวหนังอักเสบ แมลงสัตว์ กัดต่อย ไล่เหา หมัด
คาวตองยังนิยมใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน แผลเปื่อย โดยการนำต้นสดตำพอก เปลี่ยนยาวันละ ๒ ครั้ง นอกจากนี้เมื่อถูกแมลงสัตว์กัดต่อย อักเสบช้ำบวม กระดูกหัก หมอยาพื้นบ้านจะใช้ทั้งต้นตำพอกไว้ เปลี่ยนยาวันละสองครั้ง นอกจากนี้คาวตองยังมีสรรพคุณในการไล่หมัดและเหาโดยการตำคั้นน้ำมาหมักผมไว้ เหาและหมัดก็จะหลุดออกมา

พลูคาว เพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ต้านมะเร็
ประมาณปี ๒๕๔๗ เภสัชกรปราณี ชวลิตธำรง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในขณะนั้น ได้ฝากให้ช่วยหาคาวตองจากจังหวัดเชียงใหม่มาให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อนำมาศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำมาตรฐาน จึงทำให้สนใจในสรรพคุณทางยาของคาวตองมากขึ้น และเพิ่งได้รู้ว่าคาวตองเป็นสมุนไพรตัวหนึ่งที่มีการศึกษาวิจัย และมีการจดสิทธิบัตรมากตัวหนึ่ง ทั้งในแง่ของการเป็นยาและเครื่องสำอาง การเป็นยาที่สำคัญคือการเป็นยารักษามะเร็ง ซึ่งในการรักษามะเร็งนี้ได้เคยมีชาวบ้านเล่าให้ฟังอยู่บ้าง มีทั้งการต้มกินน้ำและการกินสดๆ

นอกจากมีการศึกษาวิจัยพลูคาวในแง่ของการเป็นยารักษามะเร็งแล้ว คาวตองยังเป็นความหวังในการรักษาไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๐๙ ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากคาวตองมีผลในการเพิ่มภูมิคุ้มกันและน้ำมันหอมระเหยของคาวตองยังมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในหลอดทดลอง มีหมอยาเมืองเลยเคยบอกว่า ในการรักษาหวัดคัดจมูก ปวดหัว ตาพร่ามัว ให้ขยี้ใบคาวตองและใบผักแพวดม อาการจะดีขึ้น



ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ใช้ทั้งต้นเป็นยาลดไข้ ขจัดสารพิษ รักษาแผลในกระเพาะและลดการอักเสบ 
ประเทศเกาหลีใช้พลูคาวเป็นยาลดความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดแข็งตัวเนื่องจากมีการสะสมของไขมัน (atherosclersis) และมะเร็ง ส่วนเนปาลใช้ลำต้นใต้ดินในตำรับยาที่เกี่ยวกับโรคของสตรี ขับระดู ใช้ทั้งต้นเป็นยาย่อยอาหาร บรรเทาอาการอักเสบ ใบใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง แก้บิดและริดสีดวงทวาร ดังนั้นจะเห็นว่าการใช้ประโยชน์จากคาวตองของหมอพื้นบ้านในแต่ละประเทศไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก
พลูคาว ความหวังในการพิชิตโรคร้าย
พลูคาวจัดเป็นผักสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยและจดสิทธิบัตรมากตัวหนึ่ง จากการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ พบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพลูคาวเช่นเดียวกับการใช้ประโยชน์ทางยาของหมอยาพื้นบ้านตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนี้ ฤทธิ์ขับปัสสาวะ พบว่าสารฟลาโวนอยด์ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงไต จึงมีผลเพิ่มการขับปัสสาวะ ฤทธิ์ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านไวรัส น้ำมันหอมระเหยจากพลูคาวสามารถยับยั้งการเจริญของไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดใหญ่ ไวรัสต้นเหตุของโรคเริม ไวรัสไข้หวัดใหญ่ และไวรัสเอดส์ ฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง ซึ่งในประเทศจีน มีการใช้พลูคาวเป็นส่วนประกอบในตำรับยาผงและยาฉีดในมะเร็งหลายชนิด ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และฤทธิ์ต้านการอักเสบและระงับการปวด โดยออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาแก้ปวดลดการอักเสบแผนปัจจุบันที่มิใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ฤทธิ์ในการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น



เอกสารอ้างอิง
 แน่งน้อย แสงเสน่ห์. 2541. สารต้านเชื้อราและสารต้านเชื้อแบคทีเรียจากใบพลูคาวและต้นพญาไฟ.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 102 หน้า.
 พร้อมจิต ศรลัมภ์ และ คณะ. 2543. สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 1. สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ, ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ. 219 หน้า.
 วรัญญา อาจจันทึก.2545. ผลของสารสกัดจากใบพลูคาวต่อการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของมะม่วง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,เชียงใหม่. 62 หน้า. 
 สุคนธ์ทิพย์ สมบัติ. 2543. ผลของสารสกัดจากพืชสมุนไพรในการควบคุมโรคใบจุดออลเทอนาเรียของกะหล่ำปลี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 95 หน้า.






ขอขอบคุณ
http://www.ist.cmu.ac.th/



หญ้าปักกิ่ง : สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน

หญ้าปักกิ่ง 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murdannia loriformis [Hassk.] Rolla Rao et Kammathy
วงศ์ : Commelinaceae



หญ้าปักกิ่งเป็นสมุนไพรที่น่าสนใจ จากการศึกษาและวิจัยหญ้าปักกิ่งเพื่อใช้เป็น สมุนไพรรักษาโรคมะเร็ง ไม่พบ ความเป็นพิษ เมื่อทำการวิจัยในหลอดทดลองนั้นพบว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง  พวกมะเร็งลำไส้ใหญ่และเซลล์มะเร็งเต้านม โดยพบว่ามีสารกลัยโคสฟิงโกไลปิดส์(จี1บี)ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งปานกลางของเซลล์ มะเร็ง ที่สำคัญยังพบว่าหญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง         ผู้ป่วยที่รับประทานหญ้าปักกิ่งเมื่อได้รับการรักษาแบบแผนปัจจุบันนั้น  ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานลดลงจากผลข้างเคียงของการฉายแสงและเคโมเทอราปีส์  ยับยั้งการแพร่กระจายของ มะเร็ง ละการกลับมาเป็นอีก ออ รวมทั้งใช้ปรับระบบภูมิคุ้มกันอีกด้ว


ประวัติความเป็นมาของหญ้าปักกิ่ง
หญ้าปักกิ่งจะไม่เป็นที่แพร่หลายหากไม่มีคนที่ตั้งอกตั้งใจทำให้หญ้าปักกิ่งเป็นที่รู้จัก และทำให้คนไข้มะเร็งที่ต้องการใช้หญ้าปักกิ่งได้มีหญ้าปักกิ่งใช้ นั่นก็คือการเผยแพร่ของ คุณณรงค์ สุทธิกุลพาณิช ตั้งแต่ปี 2515 โดยที่คุณณรงค์ เห็นลูกน้องของเพื่อนหายจากมะเร็งด้วยหญ้าปักกิ่ง จึงรวบรวมเพื่อน ๆ ให้ช่วยกันปลูกหญ้าปักกิ่งแจกให้กับคนไข้มะเร็งที่ต้องการจะใช้หญ้าปักกิ่ง พร้อมทั้งมีการรวบรวมประสบการณ์การใช้หญ้าปักกิ่งในการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ  จากผู้ป่วยเป็นมะเร็งที่ใช้หญ้าปักกิ่งรักษาตนเอง ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะ อาหาร มะเร็งมดลูก มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งเต้านม เนื้องอกใน สมอง มะเร็งม้าม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมน้ำ เหลือง มะเร็งกระดูก เป็นต้น 

 หลังจากนั้นคุณณรงค์ได้นำข้อมูลเหล่านี้พร้อมทั้งตัวอย่างหญ้าปักกิ่งไปมอบให้คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.ดร.วีณา จิรัจฉริยากูล  ศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อานิสงส์ที่คุณณรงค์ได้ทำคือ
ประการแรก มีต้นหญ้าปักกิ่งที่ถูกต้อง ที่คนไข้กินได้ผลมาทำการศึกษาวิจัย
ประการที่สอง มีข้อมูลที่เป็นระบบซึ่งช่วยให้นักวิชาการสนใจศึกษาหาข้อมูลทาง
วิทยาศาสตร์ เพื่อยืนยันสรรพคุณที่มีการใช้กันในหมู่ประชาชน
             
          
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา:
          
สารกลัยโคสฟิงโกไลปิดส์ (จี บี) แสดงฤทธิ์ยับยั้งปานกลางต่อเซลล์มะเร็งเต้านมและลำไส้ใหญ่ (SW 120) โดยมีค่า ED50?16 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร
          - 
สารจี บี แสดงผลปรับระบบภูมิคุ้มกัน
          - 
สารสกัดแอลกอฮอล์ของหญ้าปักกิ่งไม่ได้ช่วยยืดอายุ แต่ผลทางพยาธิวิทยาพบว่าสามารถลดความรุนแรงของการแพร่กระจายของมะเร็งในหนูได้ จึงคาดว่าสารสกัดดังกล่าวอาจใช้ป้องกันการเกิด มะเร็งได้
          - 
สารสกัดหญ้าปักกิ่ง มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ของยีนที่เกิดจากสารก่อกลายพันธุ์ชนิดต่างๆ เช่น AFB1
          - 
สารสกัดหญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์เหนี่ยวนำเอนไซม์ DT-diaphorase ซึ่งมีบทบาททำลายสารพิษที่ ก่อให้เกิดมะเร็ง


ความเป็นพิษ
          - 
ความเป็นพิษเฉียบพลัน น้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่ง ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติในด้านการเจริญเติบโต ชีวเคมีในเลือด และพยาธิสภาพของอวัยวะสำคัญในหนูขาว ค่า LD50 เมื่อให้โดยการป้อนในหนูขาว มากกว่า 120 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ซึ่งเทียบเท่า 300 เท่าของขนาดที่ใช้รักษาในคน จัดว่า ค่อนข้างจะปลอดภัย
          - 
ความเป็นพิษเรื้อรัง พบว่า น้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งขนาดที่ใช้รักษาในคน มีความปลอดภัยเพียงพอ หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลา เดือน

ตามสรรพคุณของตำรายาจีน จะใช้หญ้าปักกิ่งรักษาโรคในระบบทางเดินหายใจและกำจัดพิษ โดยจะใช้ทั้ง ต้นหรือส่วนเหนือดิน (ลำต้นหรือใบ) ที่มีอายุ 3-4 เดือน (ตั้งแต่เริ่มออกดอก)

จุดประสงค์ของการใช้หญ้าปักกิ่ง แบ่งออกเป็น กลุ่มใหญ่ คือ 

1. การใช้หญ้าปักกิ่งในผู้ป่วยโรคมะเร็ง 
               - เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งดีขึ้น ลดความทุกข์ทรมาน บางรายมีอายุยืนยาวมากขึ้น
               - 
เพื่อช่วยลดอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด

ปัจจุบันสามารถหาสารมาตรฐานที่ใช้ควบคุมคุณภาพของหญ้าปักกิ่งได้แล้ว เป็นกลุ่มสารที่ละลายน้ำได้เรียกว่า กลัยโคไซด์ และ อะกลัยโคน ซึ่งสารทั้งสองแสดงฤทธิ์ในการยับยั้งเซลมะเร็งลำไส้ใหญ่ เซลมะเร็งเต้านม และยังมีการศึกษาพบว่า หญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็งทางอ้อมโดยผ่านระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งพบว่า หญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
          
2. การใช้ในผู้ป่วยอื่นที่ไม่ใช่ผู้ป่วยมะเร็ง
               
เมื่อผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวต่ำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เมื่อใช้หญ้าปักกิ่ง พบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
               - ผู้ป่วยเป็นแผลเรื้อรัง แผลอักเสบมีหนองหรือน้ำเหลืองไหล เมื่อใช้หญ้าปักกิ่ง พบว่าแผลแห้ง ไม่มี หนองและน้ำเหลือง
                
 นอกจากการต้านมะเร็งโดยตรงแล้ว ยังมีผู้รายงานถึงคุณสมบัติต้านการก่อกลายพันธ์ของหญ้าปักกิ่ง ซึ่งอาจจะบ่งชี้ว่าหญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์ ป้องกัน การเกิดมะเร็ง โดยที่หญ้าปักกิ่งสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดเอ็นไซม์ที่ย่อยสลายสารพิษ เช่น สารพิษพวกอัลฟาท๊อกซินและลดการเกิดอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง

สมุนไพรเชียงดา : สมุนไพรรักษาเบาหวาน

สมุนไพรเชียงดา 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gumnema inodorum (Lour.) Decne.
วงศ์ : ASCLEPIADACEAE




ผักพื้นบ้านชื่อแปลกชนิดนี้ว่า “เซี่ยงดา หรือ เซ่งดา ในภาษาเมืองของภาคเหนือ มันคือผัก เชียงดา” หรือ จินดา” ในภาคกลาง ส่วนในภูมิภาคอื่นๆ จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็น ผักว้น” ,“ม้วนไก่” หรือ ผักเซ็ง” มีลักษณะเป็นไม้เถาเป็นพุ่มทึบ น้ำยางใส ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ดอกช่อ ออกที่ง่ามใบ สีเหลืองอมส้ม ผลรูปหอก เติบโตในป่าเขตร้อนภาคกลางและภาคใต้ของอินเดีย และภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ผักเชียงดารู้จักกันดีในภาษาอังกฤษว่า “Perrpioca of the woods” และ เบสบาสรินกิ แปลว่า เขาแกะ  ในภาษาสันสกฤต  มีข้อมูลที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือในภาษาฮินดู “Gurmar”  แปลตรงตัวว่า ผู้ฆ่าน้ำตาล


ผักเชียงดา ใช้เป็นยารักษาเบาหวานในอินเดียและประเทศในแถบเอเชียมานานกว่า 2000 ปีแล้วในยอดอ่อนและใบอ่อน มีวิตามินซี เบต้าแคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง รากและใบของผักเชียงดามีสารสำคัญคือ gymnemic acid มีรูปร่างเหมือนน้ำตาลกลูโคส จึงไปจับเซลล์รีเซพเตอร์ในลำไส้ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาล
มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ พบว่าผักเชียงดา สามารถที่จะช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดพึ่งอินซูลิน type 1) และไม่พึ่งอินซูลิน type 2)ได้ เมื่อให้ร่วมกันอินซูลินและยารักษาเบาหวานอื่นๆ มีรายงานว่ามีบางรายใช้ผักเชียงดาตัวเดียวในการคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานเชียงดา จะต้องบอกให้แพทย์ทราบเมื่อกินผักเชียงดาช่วยคุมเบาหวาน เพื่อที่จะลดอินซูลินและยาลง

สรรพคุณ
 ช่วยบำรุงและปรับสภาพการทำงานของตับอ่อนให้เป็นปรกติ
 ช่วยชำระล้างสารพิษตกค้างและฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง
 ช่วยบำรุงและซ่อมแซมหมวกไต และระบบการทำงานของไตให้สมบูรณ์
 ช่วยปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล   
 ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือเบาหวาน
 ช่วยปรับและควบคุมระดับความดันโลหิตให้เป็นปรกติ
 ช่วยลดและควบคุมปริมาณไขมัน (Cholesterol) ในร่างกายให้สมดุล
 ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้และหืดหอบ
 ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ จากโรคเก๊าต์

ข้อแนะนำ
 ผักเชียงดาอบแห้งผลิตมาจากพืช 100 % จึงไม่มีสารพิษตกค้างและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
 ผู้ที่มีกรดในกระเพาะอาหารมาก   ไม่ควรกินผักเชียงดาขณะท้องว่าง
 ผู้ป่วยเบาหวานขั้นรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำก่อนบริโภค

ประโยชน์ของผักเชียงดาต่อสุขภาพ
ด้านอาหาร  ยอดอ่อนและใบอ่อนของผักเชียงดา นำมารับประทานเป็นผัก มีรสขมอ่อนๆ และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ในผัก 100 กรัม มีวิตามินซี 153 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 5,905 ไมโครกรัม และวิตามินเอ 984 ไมโครกรัม นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุและสารโภชนาการอื่นๆ เช่นแคลเซียม (78 มิลลิกรัมฟอสฟอรัส (98 มิลลิกรัมเส้นใยอาหาร (crude fiber 2.5 กรัมโปรตีน (5.4 กรัมไขมัน (1.5 กรัมและคาร์โบไฮเดรต (8.6 กรัม)

ด้านสมุนไพร ในตำรายาไทยไม่มีการบันทึกสรรพคุณทางยาของผักเชียงดา ทางภาคเหนือใช้ใบผักเชียงดามาพอกกระหม่อมรักษาไข้และอาการหวัด หรือนำไปประกอบในตำรับยาแก้ไข้ประกอบในตำรับยาแก้ไข้

งานวิจัย 
ผลการวิจัยในใบของผักเชียงดาพบสารผัก(phytonutrient) ที่สำคัญและมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ได้แก่ ซาโปนิน (saponin) ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมและลดระดับน้ำตาลในลำไส้ได้ ดังนั้นในประเทศอินเดียจึงใช้เป็นยารักษาเบาหวานมากว่า 10 ปีแล้ว ประเทศญี่ปุ่น ได้ให้ความสนใจผักเชียงดาของไทยเป็นอย่างมาก และได้นำเข้าใบและยอดอ่อนของผักเชียงดาจากประเทศไทย นำไปผลิตเป็นชาชงสมุนไพร (herbal tea)ใช้ชงดื่มเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด และในปี พ.. 2544 (.. 2001) นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Nippon Veterinary and Animal Science University ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นได้ตีพิมพ์ผลงานวิเคราะห์สารบริสุทธิ์(pure compound) ที่เป็นตัวออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลจากใบของผักเชียงดา  โดยใช้วิธีเทียบเคียงสูตรโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Structure-activity relationship (SAR) และได้ออกแบบสูตรโครงสร้างของสารสำคัญ 4 ตัว (GIA-1, GIA-2,GIA-5 และ GIA-7) ซึ่งพิสูจน์ฤทธิ์ในหนูทดลองแล้วว่า สามารถลดระดับน้ำตาลได้ จึงทำการสังเคราะห์สารสำคัญดังกล่าวขึ้นมา วิธีการนี้ช่วยให้ได้สารออกฤทธิ์ที่แม่นยำและในปริมาณสูง ช่วยลดปริมาณความต้องการใช้สารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติจากใบของเชียงดาอย่างมาก

ข้อมูลอ้างอิง และสำหรับอ่านเพิ่มเติม

>> ผักเชียงดาผักพื้นบ้านของไทยสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ดร.ประไพภัทร คลังทรัพย์ , สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

>> “เชียงดา”  ผักฆ่าน้ำตาล ช่วยรักษาเบาหวาน
ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์