วันศุกร์

สมุนไพรเชียงดา : สมุนไพรรักษาเบาหวาน

สมุนไพรเชียงดา 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gumnema inodorum (Lour.) Decne.
วงศ์ : ASCLEPIADACEAE




ผักพื้นบ้านชื่อแปลกชนิดนี้ว่า “เซี่ยงดา หรือ เซ่งดา ในภาษาเมืองของภาคเหนือ มันคือผัก เชียงดา” หรือ จินดา” ในภาคกลาง ส่วนในภูมิภาคอื่นๆ จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็น ผักว้น” ,“ม้วนไก่” หรือ ผักเซ็ง” มีลักษณะเป็นไม้เถาเป็นพุ่มทึบ น้ำยางใส ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ดอกช่อ ออกที่ง่ามใบ สีเหลืองอมส้ม ผลรูปหอก เติบโตในป่าเขตร้อนภาคกลางและภาคใต้ของอินเดีย และภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ผักเชียงดารู้จักกันดีในภาษาอังกฤษว่า “Perrpioca of the woods” และ เบสบาสรินกิ แปลว่า เขาแกะ  ในภาษาสันสกฤต  มีข้อมูลที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือในภาษาฮินดู “Gurmar”  แปลตรงตัวว่า ผู้ฆ่าน้ำตาล


ผักเชียงดา ใช้เป็นยารักษาเบาหวานในอินเดียและประเทศในแถบเอเชียมานานกว่า 2000 ปีแล้วในยอดอ่อนและใบอ่อน มีวิตามินซี เบต้าแคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง รากและใบของผักเชียงดามีสารสำคัญคือ gymnemic acid มีรูปร่างเหมือนน้ำตาลกลูโคส จึงไปจับเซลล์รีเซพเตอร์ในลำไส้ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาล
มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ พบว่าผักเชียงดา สามารถที่จะช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดพึ่งอินซูลิน type 1) และไม่พึ่งอินซูลิน type 2)ได้ เมื่อให้ร่วมกันอินซูลินและยารักษาเบาหวานอื่นๆ มีรายงานว่ามีบางรายใช้ผักเชียงดาตัวเดียวในการคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานเชียงดา จะต้องบอกให้แพทย์ทราบเมื่อกินผักเชียงดาช่วยคุมเบาหวาน เพื่อที่จะลดอินซูลินและยาลง

สรรพคุณ
 ช่วยบำรุงและปรับสภาพการทำงานของตับอ่อนให้เป็นปรกติ
 ช่วยชำระล้างสารพิษตกค้างและฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง
 ช่วยบำรุงและซ่อมแซมหมวกไต และระบบการทำงานของไตให้สมบูรณ์
 ช่วยปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล   
 ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือเบาหวาน
 ช่วยปรับและควบคุมระดับความดันโลหิตให้เป็นปรกติ
 ช่วยลดและควบคุมปริมาณไขมัน (Cholesterol) ในร่างกายให้สมดุล
 ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้และหืดหอบ
 ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ จากโรคเก๊าต์

ข้อแนะนำ
 ผักเชียงดาอบแห้งผลิตมาจากพืช 100 % จึงไม่มีสารพิษตกค้างและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
 ผู้ที่มีกรดในกระเพาะอาหารมาก   ไม่ควรกินผักเชียงดาขณะท้องว่าง
 ผู้ป่วยเบาหวานขั้นรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำก่อนบริโภค

ประโยชน์ของผักเชียงดาต่อสุขภาพ
ด้านอาหาร  ยอดอ่อนและใบอ่อนของผักเชียงดา นำมารับประทานเป็นผัก มีรสขมอ่อนๆ และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ในผัก 100 กรัม มีวิตามินซี 153 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 5,905 ไมโครกรัม และวิตามินเอ 984 ไมโครกรัม นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุและสารโภชนาการอื่นๆ เช่นแคลเซียม (78 มิลลิกรัมฟอสฟอรัส (98 มิลลิกรัมเส้นใยอาหาร (crude fiber 2.5 กรัมโปรตีน (5.4 กรัมไขมัน (1.5 กรัมและคาร์โบไฮเดรต (8.6 กรัม)

ด้านสมุนไพร ในตำรายาไทยไม่มีการบันทึกสรรพคุณทางยาของผักเชียงดา ทางภาคเหนือใช้ใบผักเชียงดามาพอกกระหม่อมรักษาไข้และอาการหวัด หรือนำไปประกอบในตำรับยาแก้ไข้ประกอบในตำรับยาแก้ไข้

งานวิจัย 
ผลการวิจัยในใบของผักเชียงดาพบสารผัก(phytonutrient) ที่สำคัญและมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ได้แก่ ซาโปนิน (saponin) ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมและลดระดับน้ำตาลในลำไส้ได้ ดังนั้นในประเทศอินเดียจึงใช้เป็นยารักษาเบาหวานมากว่า 10 ปีแล้ว ประเทศญี่ปุ่น ได้ให้ความสนใจผักเชียงดาของไทยเป็นอย่างมาก และได้นำเข้าใบและยอดอ่อนของผักเชียงดาจากประเทศไทย นำไปผลิตเป็นชาชงสมุนไพร (herbal tea)ใช้ชงดื่มเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด และในปี พ.. 2544 (.. 2001) นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Nippon Veterinary and Animal Science University ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นได้ตีพิมพ์ผลงานวิเคราะห์สารบริสุทธิ์(pure compound) ที่เป็นตัวออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลจากใบของผักเชียงดา  โดยใช้วิธีเทียบเคียงสูตรโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Structure-activity relationship (SAR) และได้ออกแบบสูตรโครงสร้างของสารสำคัญ 4 ตัว (GIA-1, GIA-2,GIA-5 และ GIA-7) ซึ่งพิสูจน์ฤทธิ์ในหนูทดลองแล้วว่า สามารถลดระดับน้ำตาลได้ จึงทำการสังเคราะห์สารสำคัญดังกล่าวขึ้นมา วิธีการนี้ช่วยให้ได้สารออกฤทธิ์ที่แม่นยำและในปริมาณสูง ช่วยลดปริมาณความต้องการใช้สารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติจากใบของเชียงดาอย่างมาก

ข้อมูลอ้างอิง และสำหรับอ่านเพิ่มเติม

>> ผักเชียงดาผักพื้นบ้านของไทยสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ดร.ประไพภัทร คลังทรัพย์ , สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

>> “เชียงดา”  ผักฆ่าน้ำตาล ช่วยรักษาเบาหวาน
ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์

1 ความคิดเห็น: